|
![]() |
- สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้ขอสินเชื่อ
- สลิปเงินเดือน
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
- หนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย
- ใบแสดงการหักภาษี ณ.ที่จ่าย ทวิ50 (ในกรณี รายได้หลักเป็นค่าคอมมิชชั่นจากการขายหรือ ในกรณีรับเงินเดือนเป็นเงินสด)
- ยื่นเอกสารกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อ
- เจ้าหน้าที่ประเมินหลักประกัน ( ห้องชุดที่ซื้อ )
- พิจารณาคุณสมบัติผู้กู้
- อนุมัติสินเชื่อ
- เซ็นสัญญากับสถาบันการเงิน
- โอนและจดจำนองที่สำนักงานที่ดิน
- ราคาประเมินหลักประกัน
แต่ละสถาบันการเงินจะมีนโยบายในการให้สินเชื่อสูงสุดตามราคาหลักประกันต่างกัน ตั้งแต่ 70%-90%ของราคาประเมิน เช่นหาก ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อขายห้องชุดในราคา 1,000,000 บาท และขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่มีนโยบายให้กู้สูงสุดไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน หากราคาประเมินหลักประกันนั้นเท่ากับ 1,000,000 บาท ยอดสินเชื่อก็จะเท่ากับ 800,000บาท แต่หากราคาประเมินต่ำกว่าราคาซื้อขายเช่น ราคาประเมินเท่ากับ 800,000 บาท ยอดสินเชื่อก็จะได้เพียง 640,000 บาท แต่หากราคาประเมินของหลักประกันนั้นมากกว่าราคาซื้อขาย เช่น ราคาประเมินเท่ากับ 1,200,000 บาท ยอดสินเชื่อก็ยังคงได้เพียง 800,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากนโยบายของสถาบันการเงินให้ยอดกู้สูงสุดไม่เกิน 80%ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ขึ้นอยู่ว่ายอดใดต่ำกว่ากัน คอนโดมือสอง
ทั้งนี้ นโยบายของแต่ละสถาบันนั้นแตกต่างกัน อาจให้ 80%ของราคาประเมินแต่ไม่เกิน 90%ของราคาซื้อขายก็ได้ ก่อนขอสินเชื่อจึงควร ตรวจสอบนโยบายของแต่ละสถาบันให้ครบถ้วนเสียก่อน
- การพิจรณาความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้
การพิจรณาความสามารถในการผ่อนชำระนั้น ขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้กู้เป็นหลัก สถาบันการเงินโดยมากจะให้ความสามารถในการผ่อนชำระสูงสุดต่อเดือนอยู่ที่ 40%ของรายได้ต่อเดือนของผู้กู้ เช่น หากผู้กู้ มีรายได้ 20,000 บาทต่อเดือน จะมีความสามารถในการผ่อนชำระที่ 8,000 บาทต่อเดือน ความสามารถผ่อนชำระ 8,000 บาทต่อเดือน หากอัตราดอกเบี้ยขณะนั้นอยู่ที่ 7.75% ผู้กู้จะสามารถกู้ได้สูงสุดที่ประมาณ 1,000,000 บาท ในกรณีที่ไม่มีหนี้ค้างใดๆกับสถาบันการเงินอื่นๆเลย
ในกรณีที่มีหนี้กับสถาบันการเงินอื่นอยู่แล้ว เช่น มีภาระผ่อนชำระรถยนต์กับสถาบันการเงินใดๆอีก เดือนละ10,000 บาทต่อเดือน หากมีรายได้ต่อเดือน 30,000 บาทต่อเดือน ทางสถาบันการเงิน จะ พิจารณาว่ามีความสามารถในการผ่อนชำระ ที่ 40%ของ รายได้ 30,000 บาท เท่ากับ 12,000 บาทต่อเดือน แต่มีภาระเดิมอยู่แล้วที่ 10,000 บาทต่อเดือน จึงคงเหลือความสามารถผ่อนชำระเพียง 2,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่สินเชื่ออาจ พิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระสูงกว่า 40%ของรายได้ก็ต่อเมื่อ ผู้กู้เป็นผู้มีรายได้ค่อนข้างสูง เช่นมีรายได้ 80,000 บาทต่อเดือน ทางสถาบันการเงินอาจให้ความสามารถในการผ่อนชำระเกินกว่า 40%ของรายได้ เนื่องจากเห็นว่าแม้จะผ่อนชำระที่ 50%ของรายได้ ผู้กู้ก็ยังคงมีรายได้มากพอเพื่อใช้จ่ายประจำเดือน
แต่หากมีหนี้บัตรเครดิต ทางสถาบันการเงินจะ หักความสามารถในการผ่อนชำระเท่ากับ 10% ของยอดหนี้ที่คงค้างอยู่เช่น หากมียอดหนี้ เท่ากับ 100,000 บาท ผู้กู้จะถูกหักรายได้ออกจากฐานเงินได้ เท่ากับ 10,000 บาท
สถาบันการเงินสามารถเช็คยอดหนี้ที่ผู้กู้มีกับสถาบันการเงินใดๆโดยผ่านข้อมูลจาก สำนักงาน เครดิตกลาง ( CREDIT BUREAU )( อ่านว่าเครดิต บูโร ตามภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งผู้กู้ก็สามารถเช็คเครดิตตัวเองกับ เครดิตบูโรได้เช่นกันโดยต้องไปที่ ธนาคาร อาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ พระราม 9 แยก อสมท. โดยเสียค่าใช้จ่าย 200 บาท

เตรียมเอกสารดีๆ ให้ครบเรียบร้อย ไม่ยุ่งยากมากครับ มีขอสงสัยยินดีแนะนำครับ